วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2556

ส่งงานชิ้นที่1 ชื่อเรื่อง:องค์ประกอบศิลป์


ค์ศิป์
Composition



ความหมายขององค์ประกอบศิลป์   
องค์ประกอบของศิลปะหรือ(Composition) นั้นมาจากภาษาละตินโดยคำว่า Post นั้นหมายถึง การจัดวาง และคำว่า Comp หมายถึง เข้าด้วยกัน ซึ่งเมื่อนำมารวมกันแล้วในทางศิลปะ Composition จึงหมายความถึง องค์ประกอบของศิลปะ การจะเกิดองค์ประกอบศิลป์ได้นั้น ต้องเกิดจากการเอาส่วน ประกอบของศิลปะ (Element of Art) มาสร้างสรรค์งานศิลปะเข้าด้วยหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ (Principle of Art)จึงจะเป็นผลงานองค์ประกอบศิลป์  จากความหมายต่างๆข้างต้น พอสรุปได้ว่า องค์ประกอบศิลป์ หมายถึงสิ่งที่มนุษย์ใช้เป็นสื่อ ในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ โดยนำส่วนประกอบของศิลปะมาจัดวางรวมกันอย่างสอดคล้องกลมกลืนและมีความหมาย เกิดรูปร่างหรือรูปแบบต่างๆอันเด่นชัด จะเห็นได้ว่าการที่จะเกิดผลงานศิลปะดีๆสักชิ้นนั้นผู้สร้างสรรค์จะต้องใช้กระบวนการที่หลากหลายมาประกอบกันได้แก่ องค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ องค์ประกอบของศิลปะ และการจัดองค์ประกอบของศิลปะ มาถ่ายทอดลงในชิ้นงานหรือผลงานนั้นๆ เพื่อให้ได้ผลงานที่มีคุณค่าทั้งด้านความงามและมีคุณค่าทางจิตใจอันเป็นจุดหมายสำคัญที่ศิลปินทุกคนมุ่งหวังให้เกิดแก่ผู้ชมทั้งหลาย
ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์  
  ในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะในสาขาต่างๆไม่ว่าจะเป็นสาขาวิจิตรศิลป์ หรือประยุกต์ศิลป์ผู้สร้างสรรค์นั้นต้องมีความรู้เบื้องต้นด้านศิลปะมาก่อนและศึกษาถึงหลักการองค์ประกอบพื้นฐานองค์ประกอบที่สำคัญ การจัดวางองค์ประกอบเหล่านั้น รวมถึงการกำหนดสี ในลักษณะต่างๆเพิ่มเติมให้เกิดความเข้าใจเพื่อเวลาที่สร้างผลงานศิลป์จะได้ผลงานที่มีคุณค่า ความหมายและความงามเป็นที่น่าสนใจแก่ผู้พบเห็นหากสร้างสรรค์ผลงานโดยขาดองค์ประกอบศิลป์ ผลงานนั้นอาจดูด้อยค่า หมดความหมายหรือไม่น่าสนใจไปเลย ดังนั้น จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบศิลป์นั้นมีความสำคัญอย่างมากในการสร้างงานศิลปะ   
องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ
          องค์ประกอบพื้นฐานด้านนามธรรมของศิลปะ เป็นแนวคิด หรือจุดกำเนิดแรกที่ศิลปินใช้เป็นสิ่งกำหนดทิศทาง ในการสร้างสรรค์ ก่อนที่จะมีการสร้างผลงานศิลปะ ประกอบด้วย เนื้อหากับเรื่องราว
1.เนื้อหาในทางศิลปะ คือความคิดที่เป็นนามธรรมที่แสดงให้เห็นได้ถึงเนื้อหาและกรรมาวิธีโดยผ่านกระบวนการทางศิลปะ เช่น ศิลปินต้องการเขียนภาพที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชนบท ก็จะแสดงออกโดยการเขียนภาพทิวทัศน์ของชนบทหรือภาพวิถีชีวิตของคนในชนบทเป็นต้น
2.เรื่องราวในทางศิลปะ คือ ส่วนที่แสดงความคิดทั้งหมดของศิลปินออกมาเป็นรูปธรรมด้วยกระบวนการทางศิลปะเช่น ศิลปินเขียนภาพชื่อชาวเขา ก็มักแสดงรูปเกี่ยวกับวิถีชีวิต หรือกิจกรรมส่วนหนึ่งของชาวเขา นั่นคือเรื่องราวที่ปรากฏออกมาให้เห็น
          ประเภทของความสัมพันธ์ของเนื้อหากับเรื่องราวในงานทัศนศิลป์นั้น เนื้อหากับเรื่องราวจะมีความสัมพันธ์กันน้อยหรือมาก หรืออาจไม่สัมพันธ์กันเลย หรืออาจไม่มีเรื่องเลยก็เป็นไปได้ทั้งนั้น          โดยขึ้นกับลักษณะของงานและเจตนา ในการแสดงออกของศิลปิน ซึ่งเราสามารถแยกได้ดังต่อไปนี้คือ
(1) การเน้นเนื้อหาด้วยเรื่อง
(2) เนื้อหาที่เป็นผลจากการผสมผสานกันของศิลปินกับเรื่อง
(3) เนื้อหาที่เป็นอิสระจากเรื่อง
(4) เนื้อหาไม่มีเรื่อง 
          องค์ประกอบบางเรื่องเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบอีกเรื่องหนึ่ง เช่น เส้น เป็นส่วนหนึ่งของรูปร่างรูปทรง องค์ประกอบบางเรื่องเป็นผลมาจากองค์ประกอบอื่นๆ เช่น ค่าความอ่อนแก่ทำให้เกิดแสงเงา แสงเงาทำให้เกิดรูปร่างมองเห็นเป็นรูปทรง รูปทรงที่ถูกขนาดสมจริงทำให้เกิดสัดส่วน ความแตกต่างกันของเส้น รูปทรง สี ลักษณะผิว ทำให้เกิดการตัดกัน ความคล้ายคลึงของเส้น สี ลักษณะผิวหรือรูปร่าง รูปทรง ทำให้เกิดความกลมกลืน หรือการซ้ำเป็นจังหวะเหมือนกันทำให้เกิดลวดลาย เป็นต้น จะสังเกตเห็นว่าองค์ประกอบแต่ละเรื่องมีความสัมพันธ์กัน จึงมีการแบ่งองค์ประกอบออกเป็น 2 แบบ ตามหน้าที่และความจำเป็น ดังนี้

องค์ประกอบที่เป็นพื้นฐานงานศิลปะ

1.จุด (Point) จะเป็นสิ่งที่ปรากฏบนพื้นระนาบมีขนาดเล็ก ไม่มีความกว้าง ความยาว สูง หนา ลึก ทำให้เกิดเส้น รูปร่าง รูปทรง


2. เส้น (Line)เส้นแสดงความหมายของภาพและให้ความรู้สึกตามลักษณะของเส้น เส้นที่เป็นพื้นฐานคือ เส้นตรงและเส้นโค้ง นอกจากนี้ยังมีเส้นแนวตั้ง นอน เอียง คลื่น เส้นประ เส้นขด เส้นหยัก ซึ่งจะได้อารมณ์ที่ต่างกัน
เส้นยังแบ่งได้อีกคือ เส้นที่เกิดขึ้นจริง (Actual line), เส้นเชิงนัย (Implied line)เป็นเส้นที่เกิดจากลากเส้นโยงในความคิด ความรู้สึกและ จินตนการ,เส้นที่เกิดจากขอบ (Line formed by edge)คือเส้นที่อยู่รอบนอกของวัตถุ, เส้นสมมติ (Psychic line) เกิดจากความรู้สึกหรือจินตนาการทำให้เกิดการเชื่อมโยงเป็นเส้นสมมติ แต่ในความจริงไม่มีเส้น



3. รูปร่าง รูปทรง มวล (Shape, Form and Mass) จะแบ่งออก 3 ประเภท คือ รูปทรงเลขคณิต   (Geometric form), รูปทรงอินทรีย์รูป หมายถึงรูปทรงของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในธรรมชาติ,รูปทรงอิสระ (Free form)






4. ลักษณะผิว (Texture) ลักษณะภายนอกของวัตถุต่างๆ ที่สามารถจับต้องได้ สัมผัส หรือมองเห็นแล้วเกิดความรู้สึกได้การสัมผัสที่ได้รับรู้จากลักษณะผิว เกิดจากการสัมผัสทางกายหรือจับต้องผิววัตถุโดยตรง (Tactile texture) เพื่อจะทราบว่าละเอียด ขรุขระระ มัน ด้าน แต่การสัมผัสอีกอย่างหนึ่งคือการสัมผัสทางการเห็น



5. ส่วนสัด (Proportion) ความสัมพันธ์ในเรื่องขนาด รูปทรง เนื้อที่ ความเข้ม ความหนักเบาของส่วนต่างๆ และความสัมพันธ์เมื่อเทียบเคียงกับวัตถุอื่นที่อยู่แวดล้อมให้มีความเหมาะสมกับความเป็นจริงตามธรรมชาติหรือเหมือนต้นแบบ


6. สี (Colour) จะปรากฏการณ์ที่แสงส่องกระทบวัตถุแล้วสะท้อนคลื่นแสงบางส่วนเข้าตา เมื่อระบบประสาทตาประมวลผลจึงรับรู้ว่าวัตถุนั้นมีขนาด รูปร่าง ลักษณะผิวและสีเป็นอย่างไร การที่เรามองเห็นวัตถุมีสีต่างๆ เกิดจากการที่ผิวของวัตถุมีคุณสมบัติการดูดกลืนและสะท้อนแสงได้แตกต่างกัน เช่น กลีบดอกทานตะวันจะสะท้อนเฉพาะคลื่นแสงที่ประสาทตาประมวลผลเป็นสีเหลืองเท่านั้น ส่วนผงถ่านไม่สะท้อนคลื่นแสงในช่วงคลื่นที่ตามองเห็นออกมาเลยจึงเห็นเป็นสีดำ สีมีอิทธิพลต่อจิตใจมนุษย์ ทำให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกได้ต่างกันตามอิทธิพลของสี เช่น ร้อน สดชื่น เศร้า ตื่นเต้น



7. น้ำหนักหรือค่าความอ่อนแก่ (Tone) ระดับความเข้มที่แตกต่างกันของค่าสีหรือความอ่อนแก่ของสีที่สายตาสามารถรับรู้ได้จากการมองภาพหรือวัตถุต่างๆ เช่นสีของภูเขาที่อยู่ใกล้จะมีสีเข้มกว่าภูเขาที่อยู่ไกลออกไป ระดับน้ำหนักของสีมีค่าแตกต่างกันมากมายจนไม่สามารถแบ่งให้แน่นอนได้




8. แสงและเงา (Light and Shade) ความแตกต่างของน้ำหนักสีที่ปรากฏบนวัตถุ ซึ่งเกิดจากการที่ผิวของวัตถุแต่ละส่วนได้รับแสงไม่เท่ากัน เมื่อแสงส่องกระทบผิววัตถุแล้วสะท้อนคลื่นแสงบางส่วนเข้าตาจึงทำให้เราได้เห็นสีและรูปทรงของวัตถุนั้นได้ บริเวณที่แสงไม่สามารถส่องผ่านก็จะเกิดเป็นเงาตกทอดไปบนผิวส่วนอื่นๆยองวัตถุหรือบนวัตถุอื่นๆ ทำให้เห็นน้ำหนักของสีที่แตกต่างกัน



9. ที่ว่าง (Space) บริเวณที่ไม่มีอะไรเลย ไม่มีความหมาย ไม่มีความกว้าง ความยาว ความลึก หาขอบเขตไม่ได้ แต่ในงานทัศนศิลป์ คำว่าที่ว่างมีความหมาย เช่น ระยะห่างของรูปร่าง รูปทรงในงานจิตรกรรม ช่องว่างของรูปทรงในงานประติมากรรม





องค์ประกอบศิลป์  
     องค์ประกอบศิลป์ จะเป็นการนำส่วนประกอบต่าง  ของทัศนธาตุต่าง  เช่น  จุด เส้น  รูปร่าง  รูปทรง  ขนาด  สัดส่วน  แสงเงา  สี  ช่องว่าง  และลักษณะผิว  มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน การเรียนรู้องค์ประกอบศิลป์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกแขนงเพื่อให้เกิดความงามหรือสื่อความหมายทางศิลปะได้  โดยยึดหลักการจัดดังนี้ 
1.  เอกภาพ   (Unity)
2.  ความสมดุล  (Balance)                
3.  จังหวะ จุดเด่น   (Dominance)               
4.  ความกลมกลืน  (Harmony)             
5.  ความขัดแย้ง   (Contrast)
6. ขนาด สัดส่วน (Size Property) 


         1.เอกภาพ (Unity) เอกภาพ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความสอดคล้องกลมกลืน เป็นหน่วยเดียวกัน ด้วยการจัดองค์ประกอบให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเป็นกลุ่มก้อนไม่กระจัดกระจาย โดยการจัดระเบียบของรูปทรง  จังหวะ  เนื้อหาให้เกิดดุลยภาพจะได้สื่ออารมณ์  ความรู้สึก  ความหมายได้ง่ายและรวดเร็ว
1.1ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
1.2การเชื่อมโยงเป็นหน่วยเดียวกัน
ภาพฝั่งซ้ายเส้นเป็นลักษณะโค้ง เช่น กะละมังที่ผู้หญิงนั่ง และตัวผู้หญิงคนนี้ก้มลงเส้นขอบของลำตัวเป็นเส้นโค้ง เข้ากับกะละมังแต่ฝั่งขวามือเป็นโต๊ะมีลักษณะสี่เหลี่ยม ตัดกันกันกับวงกลมวิธีการคือการเชื่อมโยงรูปทรงของเรื่องราวให้เข้ากันด้วยการต่อเส้นโดยการเอาแปรงมาวางต่อระหว่างวงกลมกับโต๊ะให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน
-เอกภาพทางแนวคิดเรื่องรูปแบบ และเนื้อหาในภาพเป็นแนวคิดเรื่องเดียวกัน คือ เรื่องความศรัทธา เนื้อหาของภาพเรื่องเดียวกันคือเจดีย์
-เอกภาพทางเส้น การประสานกันของเส้นรูปทรงและพื้นผิว
  ในภาพนี้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรื่องเส้น ทิศทางของเส้น รูปทรงของเส้น พื้นผิวเหมือนกัน ผิวเรียบ และวัสดุชนิดเดียวกัน
   
        2.ความสมดุล (Balance) ความสมดุลหรือดุลยภาพ หมายถึง ความเท่ากันเสมอกัน มีน้ำหนัก หรือความกลมกลืนพอเหมาะพอดี โดยมีแกนสมมติทำหน้าที่แบ่งภาพให้ซ้ายขวา บน ล่าง ให้เท่ากัน การเท่ากันอาจไม่เท่ากันจริงๆ ก็ได้ แต่จะเท่ากันในความรู้สึกตามที่ตามองเห็น
ความสมดุลแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          2.1. ความสมดุล 2 ข้างเท่ากัน (Symmetrical Balance) หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ของศิลปะให้ทั้ง 2 ข้างแกนสมมติมีขนาด สัดส่วน และน้ำหนักเท่ากัน หรือมีรูปแบบเหมือนกันคล้ายกัน เช่น การวาดภาพที่ซ้ายขวาเหมือนกันมาก
          2.2. ความสมดุล 2 ข้างไม่เท่ากัน (Asymmetrical Balance) หมายถึง การจัดองค์ประกอบของศิลปะ ทั้ง 2 ข้างแกนสมมติมีขนาดสัดส่วนน้ำหนักไม่เท่ากัน ไม่เหมือนกัน ไม่เสมอกัน แต่สมดุลกันในความรู้สึก
ความสมดุล 2 ข้างไม่เท่ากัน คือภาพมีความสมดุลของเนื้อหาและเรื่องราวแต่ไม่เท่ากันในเรื่องขนาด น้ำหนัก
ความสมดุล 2 ข้างไม่เท่ากัน คือภาพมีความสมดุลของเนื้อหาและเรื่องราวแต่ไม่เท่ากันในเรื่องขนาด น้ำหนัก

         3.จังหวะ จุดเด่น (Dominance) จุดเด่น หรือจุดสนใจ หมายถึง ส่วนสำคัญที่ปรากฏชัดสะดุดตาที่สุดในงานศิลปะ จุดเด่นจะช่วยสร้างความน่าสนใจในผลงานให้ภาพเขียนมีความสวยงาม มีชีวิตชีวายิ่งขึ้นจุดเด่นเกิดจากการจัดวางที่เหมาะสมและรู้จักการเน้นภาพ(Emphasis)ที่ดีจุดเด่นก็จะ มี 2 แบบ คือ 
1.จุดเด่นหลัก เป็นภาพที่มีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องที่จะเขียน แสดงออกถึงเรื่องราวที่ชัดเจน เด่นชัดที่สุดในภาพ 
2.จุดเด่นรอง เป็นภาพประกอบของจุดเด่นหลัก ทำหน้าที่สนับสนุนจุดเด่นหลัก ให้ภาพมีความสวยงามยิ่งขึ้น เช่น ในภาพจุดเด่นรองได้แก่ รูปเรือ

         4.ความกลมกลืน  (Harmony) หมายถึง การจัดองค์ประกอบของสิ่งที่คล้ายกัน ใกล้เคียงกัน ทำให้เกิดความรู้สึก นุ่มนวล กลมกลืน มีความสัมพันธ์ต่อกัน สามารถนำไปสู่ความเป็นเอกภาพได้ มีภาพด้านล่างเป็นความกลมกลืนด้านเรื่องราวที่สอดคล้องเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาติและเป็นความกลมกลืนในเรื่องสีวรรณะเดียวกัน

         5.ความขัดแย้ง (Contrast) ขัดแย้งด้วยรูปทรง ขัดแย้งด้วยขนาด  ขัดแย้งด้วยเส้น ขัดแย้งด้วยผิว ขัดแย้งด้วยสี ความขัดแย้งที่กล่าวมาถูกจัดวางเพื่อให้เกิดความงามทางศิลปะ เป็นภาพความขัดแย้งเรื่องสีแต่ทำให้เกิดความลงตัวด้วยการใช้สีโทนเย็นของกลุ่มคนพายเรือลำที่อยู่ตรงกลาง ความตัดกันของสี แต่กลมกลืนเรื่องรูปร่างและรูปทรง

         6.ขนาด สัดส่วน (Size Property) ความสัมพันธ์กันอย่างเหมาะสมระหว่างขนาดของ องค์ประกอบที่แตกต่างกัน ทั้งขนาดที่อยู่ในรูปทรงเดียวกันหรือระหว่างรูปทรง และรวมถึง ความสัมพันธ์กลมกลืนระหว่างองค์ประกอบทั้งหลายด้วย ซึ่งเป็นความพอเหมาะพอดี ไม่ มากไม่น้อย ขององค์ประกอบทั้งหลายที่นำมาจัดรวมกัน ความเหมาะสมของสัดส่วน

อ้างอิง