วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ส่งงานชิ้นที่3ชื่้อเรื่อง: ศิลปะโรมาเนกส์

ศิลปะโรมาเนสก์
(Romanesque art)




  ศิลปะโรมาเนสก์ (Romanesque art) หรือเรียกกันว่า ศิลปะนอร์มัน หมายถึง ศิลปะที่เกิดขึ้นในยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่11ถึงปลายคริสต์ศตวรรษ12ศิลปะแบบโรมาเนสก์พื้นฐานของศิลปะกอธิตคซึ่งเริ่มมีบทบาทเมื่อประมาณคริสต์ศตวรรษ 13 การศึกษาเรื่องศิลปะยุคกลางเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่19-20 ทำให้มีการจัดแบ่งศิลปะเป็นสมัยๆคำว่า โรมาเนสก์เป็นคำที่ใช้บรรยายศิลปะตะวันตกโดยเฉพาะ สถาปัตยกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษ 11ถึง12 คำนี้ทั้งมีประโยชน์และทำให้มีความเข้าใจผิดคำนี้มาจากการทีช่างปั้นจากประเทศฝรั่งเศษทางไต้ไปจนถึงประเทศสเปนมีความรู้เรื่องส่วนประกอบของอนุเสาวรีย์แบบโรมันแต่ศิลปะแบบโรมาเนสก์ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับความคิดของศิลปะแบบโรมัน      เป็นการฟื้นฟูวิธีการก่อสร้างแบบโรมันเช่นเสาที่ใช้ในอาราม Saint-Guilhem-le-Désertหัวเสาวัดนี้แกะเป็นรูปใบอาแคนธัส(acanthus)ตกแต่งด้วยรอบปรุซึ่งจะพบตามอนุสาวรีย์แบบโรนมัอีกตัวอย่างหนึ่งคือเพดานวัดที่ Fuentidueña ประเทศสเปนเป็นแบบโค้งเหมือนถังไม้(barrel vault) ซึ่งใช้กันทั่วไปในสิ่งก่อสร้างของโรมแม้จะเน้นความเกี่ยวข้องกับวิธีการก่อสร้างแบบโรมันนักประวัติศาสตร์ศิลปะมืได้กล่าวถึงอิทธิพลอื่นๆที่มีต่อศิลปะแบบโรมาเนสก์ เช่นศิลปะทางตอนเหนือของทวีปยุโรป และ ศิลปะแบบแทนไซน์ การวิวัฒนาการของ ศิลปะโรมาเนสก์เอง


อารยธรรม
       สมัยนั้นระบบอาราม หรือ สำนักสงฆ์ (monasticism) มีความนิยมกันมาก ปัจจัยนี้ทำให้ศิลปะของ     โรมาเนสก์เผยแพร่อย่างรวดเร็ว เพราะมีการสร้างอารามใหม่ขึ้นทั่วไปในทวีปยุโรประยะนั้นมีการสถาปนานิกายใหม่ๆ ขึ้มากรวมทั้ง นิกายซิสเตอร์เชียน (Cistercian),คลูนิค(Cluniac)และ คาร์ธูเชียน  (Carthusian) เมือมีนิกายใหม่ก็มีผู้ติดตาม เมื่อมีผู้ติดตามก็ต้องมีการสร้างอารามใหม่ขึ้นทั่วยุโรป
อารยรรมใหม่นี้นอกจากจะเป็นแหล่งการศึกษาทางศาสนาแล้ว ทางวัดก็ยังมีการคัดหนังสือจากภาษาละติน และกรึก รวมทั้งหนังสือที่แปลมาจากภาษาภาษาอาหลับ ทางวิชาคณิตศาสตร์และแพทย์ศาสตร์หนังสือเหล่านี้แต่ละหน้าจะตกแต่งด้วยลวดลายอย่างหยดย้อยสวยงาม ศิลปะการตกแต่งหนังสือเรียกกันว่าหนังสือวิจิตร
อิทธิพลทางศาสนา
      โรมาเนสก์เป็นศิลปะที่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงก้บคริสตร์ศาสนา สถาปัตยกรรมโร-มาเนสก์สื่อสารให้คริสต์ชนได้เห็นถึงแก่นของความเชื่อทางศาสนา จากหน้าจั่วที่มักจะเป็นรูปสลักนูนต่ำของการตัดสินครั้งสุดท้าย (Last Judgment) เนื้อหาและความน่าเกรงขามของฉากนี้ทำให้ผู้เห้นมึความรู้สึกว่ากำลังเข้าสู่สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อเข้าไปภายในก็จะเห็นภาพเขียนฉากต่างๆจากคัมภีรืไบเบิลทั่วไปทั้งวัดไม่ว่าจะเป็นที่ประตู  บนเสาหรือผนัง  ภาพเขียนโร-  มาเนสก์มีอิทธิพลโดยตรงมาจากศิลปะแบบไบแซนไทน์ แต่งานของศิลปินโรมาเนสก์จะมีความเป็นนาฏกรรมมากขึ้นและมีความอ่อนช้อยกว่าไบแซนไทน์เห็นได้จากความพริ้วของเสื้อผ้า องค์ประกอบนี้ทำให้ผู้ดูเกิดความสะเทือนทางอารมณ์มากกว่าศิลปะยุคก่อนหน้านั้น มีลักษณะของการผสมสานระหว่างศิลปะโรมันกับศิลปะของอนารยชนเยอรมันในช่วงคริศต์ศตวรรษที่ 11-12  ได้แก่

1 .งานสถาปัตยกรรม  จะมีลักษณะเด่นคือ การสร้างวิหารขนาดใหญ่เป็นศูนย์กลางของวัด หลังคารูปโค้ง แต่มิใช่หลังคาโดมเหมือนศิลปะไบแซนไทน์ อาคารหนาทึบ คล้ายป้อมปราการ มีหน้าต่างแบบวงล้อเป็นรูปวงกลมที่ถูกแบ่งออกเป็นซี่ๆ ผลงานชิ้นสำคัญ คือวิหารแซงต์เอเตียนน์ ในฝรั่งเศส และหอเอนปิ ซา ในอิตาลี  สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ (Romanesque architecture) เป็นคำที่บรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมตะวันตกที่เริ่มราวปลายคริสต์ศตวรรษที่ 10 ไปจนถึงสมัยสถาปัตยกรรมกอธิคระหว่างคริสต์ศตวรรษที่12 สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ที่อังกฤษจะเรียกกันว่า “สถาปัตยกรรมนอร์มัน” ลักษณะเด่นๆของสถาปัตยกรรมยุคนี้คือความเทอะทะ เช่นความหนาของกำแพง ประตูหรือหลังคาเพดานโค้งประทุน เพดานโค้งประทุนซ้อน การใช้โค้งซุ้มอาร์เคดในระหว่างช่วงเสาหนึ่ง ๆ และในแต่ละชั้นที่ต่างขนาดกัน เสาที่แน่นหนา หอใหญ่หนัก และ การตกแต่งรอบโค้ง (เช่นซุ้มประตูหรืออาร์เคด (arcade) ลักษณะตัวอาคารก็จะมีลักษณะเรียบ สมส่วนมองแล้วจะเป็นลักษณะที่ดูขึงขังและง่ายไม่ซับซ้อน สถาปัตยกรรมกิธิคที่ตามมา สถาปัตยกรรมจะพบทั่วไปในทวีปยุโรปไม่ว่าจะเป็นประเทศใดหรือไม่ว่าจะใช้วัสดุใดในการก่อสร้าง  สถาปัตยกรรม เป็นการก่ออิฐฉาบปูน มีหลังคาทรงโค้งกากบาทและมีลักษณะสำคัญ คือมีความหนักแน่น ทึบคล้ายป้อมโบราณ


1.มีโครงสร้างวงโค้งอย่างโรมัน
2.มีหอสูง 2 หอ หรือมากกว่านั้น
3.มีช่องเปิด ตามหน้าต่างหรือประตูทำเป็นโครงสร้างวงโค้งวางชิด ๆ กัน
4.มีหัวคานยื่นออกนอกผนัง เป็นคิ้วตามนอนนอกอาคาร
5.มีหน้าต่างแบบวงล้อ เป็นรูปวงกลมที่ถูกแบ่งออกเป็นซี่
สำหรับงานศิลปกรรมอื่นๆ ส่วนมากมักเป็นงานแกะสลักงาช้างขนาดเล็กๆ หรือไม่ก็เป็นงานที่เขียนบนหนังสือแบบวิจิตร เรื่องราวของงานศิลปะจะนำมาจากพระคัมภีร์ฉบับเก่าและใหม่ ตำนานโบราณ ชีวประวัตินักบุญรูปเปรียบเทียบความดีกับความชั่ว หรือลวดลายต่างๆ เป็นรูปดอกไม้ และรูปเรขาคณิต



             2.จิตกรรม  งานจิตรกรรมฝาผนังที่แสดงถึงเรื่องราวทางศาสนา เขียนด้วยสีปูนเปียก (Fressco)ตกแต่งผนัง ซึ่งปัจจุบันได้ถูกทำลายโดยดินฟ้า อากาศ เสียหายเป็นส่วนใหญ่ และได้รับการเขียนทับใหม่โดยศิลปินในสมัยต่อมา จิตรกรรมอีก ลักษณะหนึ่งคือจิตรกรรมประกอบหนังสือหรือประกอบคัมภีร์ไบเบิล ในช่วงพุทธศ  ตวรรศที่ ๑๖-๑๗ จิตรกรรมโรมาเนสก์มีรูปร่างลักษณะแบน และแสดงเส้นเป็นระเบียบมั่นคงที่มีพลังจาก  การบิดเอี้ยว และวนเป็นวง ผลงานจิตรกรรมภายหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เริ่มมีมิติทางรูปทรงอย่างงานประติมากรรมมากขึ้น แต่ไม่ค่อยมีชีวิตชีวา  เท่าไรนัก อิทธิพลของศิลปะไบเซนไทน์มักมีปรากฏอย่างชัดเจนในส่วนของเสื้อผ้าที่เป็นรอย ยับจีบคล้ายรูปเรขาคณิต การจัดวางท่าทางรูปคนให้ดูเป็นธรรมชาติมากขึ้น

3.งานประติมากรรม ส่วนใหญ่เป็นงานแกะสลักหินตามฝาผนังเหนือประตูหน้าต่าง สถาปัตยกรรมเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคัมภีร์ไบเบิล เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ใช้ลวดลายแบบเรขาคณิตตามแบบชนเผ่าเยอรมันโบราณ รูปแกะสลักมักยาวเรียวไม่เหมือนจริง ซึ่งแตกต่างจากศิลปะกรีกและโรมันที่เน้นรูปทรงสัดส่วนเหมือนจริงตามธรรมชาติ เช่นรูปพระเยซูบนประตูทางเข้าโบสถ์แซงฟังฝรั่งเศส
                           

         กล่าวโดยว่า ศิลปะโรมาเนสก์มีแหล่งกำเนิดสำคัญ คือ  ศิลปะโรมัน  ศิลปะเซลโต-เยอ-รมนิก  ศิลปะคริสเตียนยุคแรก และศิลปะไบซันไทน์ในสมัยคาโรลิงเจียน ศิลปะโรมาเนสก์นิยมประติมากรรมขนาดเล็กเช่นเดียวกับสมัยไบซันไทน์  การฟื้นฟูประติมากรรมขนาดใหญ่เริ่มมีขึ้นในสมัยโรมาเนสก์  แต่การจัดองค์ประกอบประติมากรรมขนาดใหญ่  โดยมากยังมีมูลฐานมาจากงานแกะสลักงาช้างหรือแม้แต่จากภาพเขียนสีในหน้าหนังสือฉบับเขียนด้วย








วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ส่งงานชิ้นที่2 ชื่อเรื่อง:ศิลปะนามธรรม


ศิลปะนามธรรม 
Abstract Art 

ศิลปะนามธรรมAbstract Art) หรือ มโนศิลปะ หรือ ศิลปะนามธรรม หมายถึง แบบอย่างของทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ แสดงความรู้สึกของมนุษย์ต่อธรรมชาติแวดล้อม ถ่ายทอดเป็นรูป ภาพ มีลักษณะเป็นสองมิติ หรือ สามมิติ ส่วนใหญ่จะไม่พรรณนาเรื่องราวตามความเป็นจริง ศิลปินอาจละทิ้งรูปทรงต่างๆ ด้วยการตัดทอนหรือตัดรูปทรงจนหมดสิ้น อาจสร้างรูปทรงขึ้นมาใหม่ตามความรู้สึกของ   ตนเอง ด้วยการวางโครงสีใหม่ และเรื่องราวล้วนเป็นนามธรรม ซึ่งนับว่าเป็นหัวใหม่ของวงการศิลปกรรมเพราะการเขียนภาพเช่นนี้ ทำความเข้าใจยากกว่าศิลปะทุกแขนงที่เคยมีมา ผู้ริเริ่มคือ วาสสิลี่ แคนดินสกี้ ชาวรัสเซีย แคนดินสกี้คำนึงถึงหลัก 2 ประการ คือ ความรู้สึกภายนอกและความรู้สึกภายใน (the inner and the outer) ความรู้สึกภายนอก คือ วัสดุรูปทรง และเมื่อรู้สึกต่อการเห็นรูปทรงดังกล่าวแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกภายในสำหรับคุณค่าของรูปทรงนั้น เป็นการสร้างความกลมกลืนขึ้นด้วยสีสัน การเคลื่อนไหว ลีลา จังหวะ ลักษณะผิว สัดส่วน และความเด่นชัดของภาพมีการใช้ภาษาภาพในการสื่อความหมายด้วยรูปทรง, สี และลายเส้น เพื่อสร้างสัดส่วนซึ่งอาจจะประกอบขึ้นในระดับความเป็นนามธรรมที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ยุคฟื้นฟูวิทยา


จนถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปตะวันตกรับอิทธิพลในการใช้ทัศนมิติและความพยายามในการทำให้สมจริงมากที่สุด จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปินหลายคนรู้สึกถึงความต้องการที่จะสร้างสรรค์ศิลปะแนวใหม่ ซึ่งสามารถที่จะถ่ายทอดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานขอเทคโนโลยี,วิทยาศาสตร์ และปรัชญา ต้นตอที่ทำให้ศิลปินสร้างสรรค์งานศิลปะของตัวเองนั้นมีหลากหลาย และสะท้อนให้เห็นสภาพก่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคมและปัญญาในทุกแง่มุมของวัฒนธรรมยุโรปในขณะนั้น
ทั้งศิลปะนามธรรมทรงเรขาคณิตและศิลปะนามธรรมแบบพลิ้วไหวมักจะมีความเป็นนามธรรมโดยสมบูรณ์อยู่บ่อยครั้ง และหนึ่งในพัฒนาการอันหลากหลายของศิลปะที่กลายมาเป็นศิลปะนามธรรมบางส่วน เช่น ศิลปะคติโฟลวิวศ์ ที่เน้นการใช้สีแบบผิดแปลกอย่างจงใจและเด่นชัด หรือลัทธิคิวบิวส์ที่เน้นการทำให้รูปแบบการวาดภาพสิ่งต่างๆ ในชีวิตจริงผิดแผกไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด

ความรู้สึกของสี
                     สีต่างๆ ที่เราสัมผัสด้วยสายตานั้น จะทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในต่อเราและมีผลกระทบต่อเราทันทีที่เรามองเห็นสี ไม่ว่าจะเป็น การแต่งกาย บ้านที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ต่างๆ สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรานั้น  แล้วเราจะ ทำอย่างไร จึงจะใช้สี้ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับหลักจิตวิทยา เราจะต้องเข้าใจว่าสีใดให้ความรู้สึก ต่อมนุษย์อย่างไร ซึ่งความรู้สึกเกี่ยวกับสี สามารถจำแนกออกได้มากมาย
สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง กระตุ้น 
สีเหลือง ให้ความรู้สึก แจ่มใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่นท้าทาย 
สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม
สีม่วง ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น
สีเทา ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่

สีเขียวแก่ จะทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าใจความแก่ชรา 
สีฟ้า ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง กว้าง เบา โปร่งใส สะอาด 
สีดำ ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน 
สีทอง ให้ความรู้สึก ความหรูหรา โอ่อ่า มีราคา สูงค่า
       จากความรู้สึกดังกล่าว เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ไในชีวิตประจำวันได้ในทุกเรื่อง และเมื่อต้องการสร้างผลงาน ที่เกี่ยวกับการใช้สี เพื่อที่จะได้ผลงานที่ตรงตามความต้องการในการสื่อความหมาย และจะช่วยลดปัญหาในการ ตัดสินใจที่จะเลือกใช้สีต่างๆได้อย่างเหมาะสม 
..............................................................................
อ้างอิง