วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ส่งงานชิ้นที่2 ชื่อเรื่อง:ศิลปะนามธรรม


ศิลปะนามธรรม 
Abstract Art 

ศิลปะนามธรรมAbstract Art) หรือ มโนศิลปะ หรือ ศิลปะนามธรรม หมายถึง แบบอย่างของทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ แสดงความรู้สึกของมนุษย์ต่อธรรมชาติแวดล้อม ถ่ายทอดเป็นรูป ภาพ มีลักษณะเป็นสองมิติ หรือ สามมิติ ส่วนใหญ่จะไม่พรรณนาเรื่องราวตามความเป็นจริง ศิลปินอาจละทิ้งรูปทรงต่างๆ ด้วยการตัดทอนหรือตัดรูปทรงจนหมดสิ้น อาจสร้างรูปทรงขึ้นมาใหม่ตามความรู้สึกของ   ตนเอง ด้วยการวางโครงสีใหม่ และเรื่องราวล้วนเป็นนามธรรม ซึ่งนับว่าเป็นหัวใหม่ของวงการศิลปกรรมเพราะการเขียนภาพเช่นนี้ ทำความเข้าใจยากกว่าศิลปะทุกแขนงที่เคยมีมา ผู้ริเริ่มคือ วาสสิลี่ แคนดินสกี้ ชาวรัสเซีย แคนดินสกี้คำนึงถึงหลัก 2 ประการ คือ ความรู้สึกภายนอกและความรู้สึกภายใน (the inner and the outer) ความรู้สึกภายนอก คือ วัสดุรูปทรง และเมื่อรู้สึกต่อการเห็นรูปทรงดังกล่าวแล้ว ก็จะเกิดความรู้สึกภายในสำหรับคุณค่าของรูปทรงนั้น เป็นการสร้างความกลมกลืนขึ้นด้วยสีสัน การเคลื่อนไหว ลีลา จังหวะ ลักษณะผิว สัดส่วน และความเด่นชัดของภาพมีการใช้ภาษาภาพในการสื่อความหมายด้วยรูปทรง, สี และลายเส้น เพื่อสร้างสัดส่วนซึ่งอาจจะประกอบขึ้นในระดับความเป็นนามธรรมที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ยุคฟื้นฟูวิทยา


จนถึงช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปตะวันตกรับอิทธิพลในการใช้ทัศนมิติและความพยายามในการทำให้สมจริงมากที่สุด จนถึงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ศิลปินหลายคนรู้สึกถึงความต้องการที่จะสร้างสรรค์ศิลปะแนวใหม่ ซึ่งสามารถที่จะถ่ายทอดการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานขอเทคโนโลยี,วิทยาศาสตร์ และปรัชญา ต้นตอที่ทำให้ศิลปินสร้างสรรค์งานศิลปะของตัวเองนั้นมีหลากหลาย และสะท้อนให้เห็นสภาพก่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสังคมและปัญญาในทุกแง่มุมของวัฒนธรรมยุโรปในขณะนั้น
ทั้งศิลปะนามธรรมทรงเรขาคณิตและศิลปะนามธรรมแบบพลิ้วไหวมักจะมีความเป็นนามธรรมโดยสมบูรณ์อยู่บ่อยครั้ง และหนึ่งในพัฒนาการอันหลากหลายของศิลปะที่กลายมาเป็นศิลปะนามธรรมบางส่วน เช่น ศิลปะคติโฟลวิวศ์ ที่เน้นการใช้สีแบบผิดแปลกอย่างจงใจและเด่นชัด หรือลัทธิคิวบิวส์ที่เน้นการทำให้รูปแบบการวาดภาพสิ่งต่างๆ ในชีวิตจริงผิดแผกไปจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด

ความรู้สึกของสี
                     สีต่างๆ ที่เราสัมผัสด้วยสายตานั้น จะทำให้เกิดความรู้สึกขึ้นภายในต่อเราและมีผลกระทบต่อเราทันทีที่เรามองเห็นสี ไม่ว่าจะเป็น การแต่งกาย บ้านที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ต่างๆ สิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรานั้น  แล้วเราจะ ทำอย่างไร จึงจะใช้สี้ได้อย่างเหมาะสม และสอดคล้องกับหลักจิตวิทยา เราจะต้องเข้าใจว่าสีใดให้ความรู้สึก ต่อมนุษย์อย่างไร ซึ่งความรู้สึกเกี่ยวกับสี สามารถจำแนกออกได้มากมาย
สีแดง ให้ความรู้สึกร้อน รุนแรง กระตุ้น 
สีเหลือง ให้ความรู้สึก แจ่มใส ความร่าเริง ความเบิกบานสดชื่นท้าทาย 
สีน้ำเงิน ให้ความรู้สึกสงบ สุขุม สุภาพ หนักแน่น เคร่งขรึม
สีม่วง ให้ความรู้สึก มีเสน่ห์ น่าติดตาม เร้นลับ ซ่อนเร้น
สีเทา ให้ความรู้สึก เศร้า อาลัย ท้อแท้ ความลึกลับ ความหดหู่

สีเขียวแก่ จะทำให้เกิดความรู้สึกเศร้าใจความแก่ชรา 
สีฟ้า ให้ความรู้สึก ปลอดโปร่งโล่ง กว้าง เบา โปร่งใส สะอาด 
สีดำ ให้ความรู้สึกหนัก หดหู่ เศร้าใจ ทึบตัน 
สีทอง ให้ความรู้สึก ความหรูหรา โอ่อ่า มีราคา สูงค่า
       จากความรู้สึกดังกล่าว เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ไในชีวิตประจำวันได้ในทุกเรื่อง และเมื่อต้องการสร้างผลงาน ที่เกี่ยวกับการใช้สี เพื่อที่จะได้ผลงานที่ตรงตามความต้องการในการสื่อความหมาย และจะช่วยลดปัญหาในการ ตัดสินใจที่จะเลือกใช้สีต่างๆได้อย่างเหมาะสม 
..............................................................................
อ้างอิง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น